กิจกรรมที่ 3
ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
4. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
ประวัติย่อของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
เมื่อมีอายุไม่ถึงหนึ่งปี ครอบครัวเวชชาชีวะก็เดินทางกลับเมืองไทย เด็กชายอภิสิทธิ์เข้าเรียนชั้นอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลยุคลธร และต่อมาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หลังจากนั้นก็เดินทางไป เรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนสเกทคลิฟ และที่โรงเรียนอีตัน นับเป็นช่วงที่อภิสิทธิ์ใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนประจำเป็นเวลาหลายปี
นอกจากหลักสูตรการเรียนที่ท้าทาย กฎระเบียบด้านวินัยที่เข้มงวดแล้ว โรงเรียนที่อังกฤษยังกำหนดให้ นักเรียนทุกคนต้องออกกำลังกายอีกด้วย จึงทำให้อภิสิทธิ์ได้หัดเล่นกีฬาหลายประเภท และที่ถนัดมากที่สุดคือ ฟุตบอล ซึ่งได้กลายเป็นกีฬาที่โปรดปราน ของอภิสิทธิ์มาจนถึงทุกวันนี้
อภิสิทธิ์เป็นผู้ที่ติดตามการแข่งขันฟุตบอล ของสโมสรต่างๆ ในอังกฤษ (เป็นแฟนที่เหนียวแน่น ของสโมสรนิวคาสเซิล) และการแข่งขันระดับโลกสำคัญๆ มาตลอด (เป็นผู้ที่สามารถวิจารณ์ผู้เล่น ครูฝึกสอน และผู้จัดการของทีมฟุตบอลต่างๆ ได้คมชัดอย่างที่ไม่มีใครนึกถึง)
ในช่วงเวลาที่ว่างจากการเรียน และการเล่นกีฬา อภิสิทธิ์ก็ผ่อนคลายด้วยการฟังดนตรีแนวร็อค ตั้งแต่ป๊อปร็อคไปจนถึงเฮฟวี่เมทัล โดยมีวงดนตรีที่โปรดปรานหลายวง เช่น อาร์อีเอ็ม อีเกิ้ลล์ และโอเอซิส
เมื่อจะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี อภิสิทธิ์ได้เลือกเรียนในสาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด
ในช่วงที่อยู่ที่อ๊อกซฟอร์ด การใช้ชีวิตของอภิสิทธิ์ก็ต้องปรับเปลี่ยนอีกครั้ง จากเดิมที่ต้องอยู่ภายในกฎ ระเบียบของโรงเรียนประจำ ได้รับอิสระ เสรีภาพมาก สามารถใช้เวลาว่าง ได้ตามใจมากขึ้น ซึ่งอภิสิทธิ์ก็ได้ใช้เวลาเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ในสภานักศึกษา อภิสิทธิ์ใช้เวลาเรียนที่อ็อกซฟอร์ด 3 ปีจนจบ และได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง นับเป็นคนไทยคนที่สอง ในประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่ได้รับเกียรตินิยมอันดับนี้ และในระหว่างนี้ได้ศึกษาต่อ ในคณะนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงด้วย หลังจากจบปริญญาตรี อภิสิทธิ์ก็เดินทางกลับประเทศไทย และเข้ารับราชการทหารโดยสอนหนังสือ ที่โรงเรียนนายร้อย จปร. ที่เขาชะโงก จังหวัดนครนายก ก่อนที่จะกลับไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ที่อ๊อกซฟอร์ด ในสาขาเศรษฐศาสตร์
ในช่วงก่อนที่จะกลับไปเรียนต่อปริญญาโท อภิสิทธิ์ได้แต่งงานกับ น.ส.พิมพ์เพ็ญ ศกุนตาภัย ปัจจุบันทั้งคู่มีลูกสาวหนึ่งคน และลูกชายหนึ่งคน (ปราง และ ปัณณสิทธิ์)
เมื่อจบปริญญาโท อภิสิทธิ์ได้กลับมาสอนหนังสืออีกครั้ง ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเข้ามา "ทำงาน" การเมืองตั้งแต่เด็ก การตัดสินใจของอภิสิทธิ์จึงมีแนวทางที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกสาขาที่จะเรียน การทำกิจกรรม หรือการพยายามติดตามข่าวสารบ้านเมืองแม้ว่าจะอยู่ต่างประเทศก็ตาม
2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ เมื่อมีอายุไม่ถึงหนึ่งปี ครอบครัวเวชชาชีวะก็เดินทางกลับเมืองไทย เด็กชายอภิสิทธิ์เข้าเรียนชั้นอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลยุคลธร และต่อมาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หลังจากนั้นก็เดินทางไป เรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนสเกทคลิฟ และที่โรงเรียนอีตัน นับเป็นช่วงที่อภิสิทธิ์ใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนประจำเป็นเวลาหลายปี
นอกจากหลักสูตรการเรียนที่ท้าทาย กฎระเบียบด้านวินัยที่เข้มงวดแล้ว โรงเรียนที่อังกฤษยังกำหนดให้ นักเรียนทุกคนต้องออกกำลังกายอีกด้วย จึงทำให้อภิสิทธิ์ได้หัดเล่นกีฬาหลายประเภท และที่ถนัดมากที่สุดคือ ฟุตบอล ซึ่งได้กลายเป็นกีฬาที่โปรดปราน ของอภิสิทธิ์มาจนถึงทุกวันนี้
อภิสิทธิ์เป็นผู้ที่ติดตามการแข่งขันฟุตบอล ของสโมสรต่างๆ ในอังกฤษ (เป็นแฟนที่เหนียวแน่น ของสโมสรนิวคาสเซิล) และการแข่งขันระดับโลกสำคัญๆ มาตลอด (เป็นผู้ที่สามารถวิจารณ์ผู้เล่น ครูฝึกสอน และผู้จัดการของทีมฟุตบอลต่างๆ ได้คมชัดอย่างที่ไม่มีใครนึกถึง)
ในช่วงเวลาที่ว่างจากการเรียน และการเล่นกีฬา อภิสิทธิ์ก็ผ่อนคลายด้วยการฟังดนตรีแนวร็อค ตั้งแต่ป๊อปร็อคไปจนถึงเฮฟวี่เมทัล โดยมีวงดนตรีที่โปรดปรานหลายวง เช่น อาร์อีเอ็ม อีเกิ้ลล์ และโอเอซิส
เมื่อจะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี อภิสิทธิ์ได้เลือกเรียนในสาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด
ในช่วงที่อยู่ที่อ๊อกซฟอร์ด การใช้ชีวิตของอภิสิทธิ์ก็ต้องปรับเปลี่ยนอีกครั้ง จากเดิมที่ต้องอยู่ภายในกฎ ระเบียบของโรงเรียนประจำ ได้รับอิสระ เสรีภาพมาก สามารถใช้เวลาว่าง ได้ตามใจมากขึ้น ซึ่งอภิสิทธิ์ก็ได้ใช้เวลาเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ในสภานักศึกษา อภิสิทธิ์ใช้เวลาเรียนที่อ็อกซฟอร์ด 3 ปีจนจบ และได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง นับเป็นคนไทยคนที่สอง ในประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยที่ได้รับเกียรตินิยมอันดับนี้ และในระหว่างนี้ได้ศึกษาต่อ ในคณะนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงด้วย หลังจากจบปริญญาตรี อภิสิทธิ์ก็เดินทางกลับประเทศไทย และเข้ารับราชการทหารโดยสอนหนังสือ ที่โรงเรียนนายร้อย จปร. ที่เขาชะโงก จังหวัดนครนายก ก่อนที่จะกลับไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ที่อ๊อกซฟอร์ด ในสาขาเศรษฐศาสตร์
ในช่วงก่อนที่จะกลับไปเรียนต่อปริญญาโท อภิสิทธิ์ได้แต่งงานกับ น.ส.พิมพ์เพ็ญ ศกุนตาภัย ปัจจุบันทั้งคู่มีลูกสาวหนึ่งคน และลูกชายหนึ่งคน (ปราง และ ปัณณสิทธิ์)
เมื่อจบปริญญาโท อภิสิทธิ์ได้กลับมาสอนหนังสืออีกครั้ง ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเข้ามา "ทำงาน" การเมืองตั้งแต่เด็ก การตัดสินใจของอภิสิทธิ์จึงมีแนวทางที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกสาขาที่จะเรียน การทำกิจกรรม หรือการพยายามติดตามข่าวสารบ้านเมืองแม้ว่าจะอยู่ต่างประเทศก็ตาม
การทำงาน-การเมือง
ก่อนปี 2535 อาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จนได้รับพระราชทานยศร้อยตรี
ปี 2532 อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด อังกฤษ
ปี 2533-2534 อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปี 2535 ส.ส.กทม. เขต 6
ปี 2538-2539 ส.ส.กทม. เขต 5
ปี 2535-2538 โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ปี 2537 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
ปี 2538-2539 ประธานกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร
ปี 2538-2540 โฆษกพรรคประชาธิปัตย์
ปี 2540-2543 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ปี 2542 ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ
ปี 2542-2548 รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ปี 2544-2547 ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์
ปี 2548 หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ปี 2551 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
ดิฉันได้ติดตามข่าวสารบ้านเมืองมาโดยตลอดและก็ไม่รู้สึกยินดียินร้ายกับท่านอภิสิทธิ์มาตั้งแต่ไหนแต่ไร แต่เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยน ดิฉันเคารพและรักท่านมากขึ้นในฐานะที่ท่านวางตัวเป็นกลาง เสนอแนะแนวทางออกทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายพันธมิตร การวางตัวเป็นกลางและมีวิสัยทัศน์ของท่านจะทำให้ท่านได้ใจจากประชาชนใน สุดท้ายขอให้ท่านรักษาความดีและความเป็นกลาง ยึดหลักการกฎและความถูกต้องเป็นสำคัญ ท่านอาจได้ใจประชาชนในการเลือกตั้งครั้งหน้า เหมือนกับตอนนี้ที่ท่านได้ความชื่นชมจากดิฉัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น