การจัดการสอนของข้าพเจ้า ก็คือ
1. ดูว่าวิชาที่เราจะสอนหลักสูตรแกนกลางเขากำหนดว่าอย่างไรต้องการให้ผู้เรียน รู้อะไรแล้วนำความสำคัญนั้นมาปรับเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
2. และเรามาดูว่าผู้เรียนมีลักษณะอย่างไร และเราต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไร โดยจะต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการจัดกิจกรรม
3. ในการจัดกิจกรรมเราจะเน้นสื่อเป็นจุดเชื่อมเรื่องต่างๆของกิจกรรม
4. โดยการจัดกิจกรรมเราจะประเมินผลโดยเพื่อนของนักเรียนและครูผู้สอนหรือครูผู้สอนคนอื่น
5. เมื่อได้ผลประเมินมาครูผู้สอนก็นำมา วัดผล วิเคราะห์และสงเคราะห์ออกมา ดูว่าผู้เรียนแต่ละคนผลเป็นอย่างไรแล้วนำส่วนที่บกพร่องไปปรับปรุงแก้ไขไห้ ดีขึ้น
6. การจัดการเรียนการสอนจากการสังเกต วัดผล ทดสอบต่างๆ เรานำมาวิจัยดูพฤติกรรมของผู้เรียนและนำไปพัฒนานวัตกรรมสื่อใหม่ๆเพื่อการ เรียนรู้และปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้นและนำประสบการณ์มาปรับปรุงและแก้ไขนำไป ใช้ในอนาคต
7. ในการจัดกิจกรรมครูควรจัดกิจกรรมจะต้องให้ผู้เรียนได้แสดงความสามารถในลักษณะต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้มีความหลากหลายในการเรียนรู้
8. ในการจัดกิจกรรมเราจะเน้นสื่อเป็นจุดเชื่อมเรื่องต่างๆของกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ไห้มากที่สุด
๖ การวัดและประเมินผล
8. ในการจัดกิจกรรมเราจะเน้นสื่อเป็นจุดเชื่อมเรื่องต่างๆของกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ไห้มากที่สุด
แผนการแผนการจัดการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
เรื่อง ความรู้พื้นฐานทางภาษา : การเขียนแสดงความคิดเห็นและการเขียนโต้แย้ง
ใช้สอนวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๑ จำนวน ๑ ชั่วโมง
ใช้สอนวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๑ เนื่องจากนักเรียนเข้าค่ายลูกเสือ
………………………………………………..
๑ สาระสำคัญ
กระบวนการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความคิดเห็นของผู้ส่งสารไปให้ผู้รับสารเข้าใจทำได้โดยการพูดและการเขียน ผู้ส่งสารจะสามารถสื่อสารให้ผู้รับสารเข้าใจได้ต้องประมวลความรู้ ความคิดจากการอ่าน การดู และการฟังซึ่งเป็นประสบการณ์เดิมของผู้ส่งสาร กระบวนการเขียนที่สามารถทำให้ผู้รับสารเชื่อถือต้องมีข้อมูลหลักฐาน และเหตุผลประกอบอย่างชัดเจน ผู้เรียนจึงต้องหมั่นฝึกฝนการเขียนอยู่เสมอเพื่อพัฒนาตนเอง
๒ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. รู้หลักและวิธีการเขียนโต้แย้ง
๒. สามารถเขียนโต้แย้งได้
๓ สาระการเรียนรู้
๑. ประเภทของการแสดงความคิดเห็น และหลักการเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น
๒. กระบวนการโต้แย้งและเขียนโต้แย้ง
๔ กิจกรรมการเรียนรู้
๑. ครูสรุปและอธิบายเพิ่มเติมหลักการเขียนแสดงความคิดเห็นและหลักการเขียนโต้แย้งและมารยาทในการเขียน แล้วให้นักเรียนจดบันทึกความรู้ย่อลงในสมุด
๒. ให้นักเรียนทำแบบฝึกการเขียนแสดงความคิดเห็นและการเขียนโต้แย้งในใบงาน เรื่อง การเขียนแสดงความคิดเห็น และการเขียนโต้แย้ง แล้วนำเสนอผลงานโดยจัดแสดงที่ป้ายนิเทศเพื่อแลกเปลี่ยนกันอ่าน
๕ สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้
๑. หนังสือเรียนภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
๖ การวัดและประเมินผล
๑. วิธีวัดและประเมินผล
-ตรวจใบงาน
-ประเมินการเขียนแสดงความคิดเห็น
๒. เครื่องมือวัดและประเมินผล
-ใบงานและแบบประเมินใบงาน
-แบบประเมินการเขียนแสดงความคิดเห็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น